IoT คืออะไร รู้จักความหมายของ Internet of things เทคโนโลยีเชื่อมโลก
โลกในยุคปัจจุบันที่เราไม่อาจจำกัดการเชื่อมต่อของอินเทอร์เนต และการเชื่อมโยงถึงกันของข้อมูลจนเกิดเป็นยุคที่เรียกว่า Internet of things หรือ IoT และอนาคตอันใกล้นี้เรากำลังจะก้าวเข้าสู่โลกของ Metaverse ที่กำลังเป็นที่สนใจมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วเทคโนโลยี IoT ที่เกิดมาก่อนนั้นคืออะไร ค้นหาความหมายของเทคโนโลยีเชื่อมโลกได้ที่นี่
ก่อนที่เราจะเดินทางไปยังโลกเสมือนอย่าง Metaverse อยากให้ทุกคนได้รู้จักกับ IoT เทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มนุษย์สามารถใช้ชีวิตได้อย่างไร้ขีดจำกัด ครอบคลุมไปทุกๆ อุตสาหกรรม และนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายมานานนับทศวรรษ ซึ่งยังคงเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และเป็นฐานของเทคโนโลยีตั้งต้นเพื่อนำไปสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ สินค้าและบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้คนในทุกวันนี้
เรามาศึกษากันว่า IoT นี้มีที่มาจากที่ไหน และความสามารถของเทคโนโลยีสามารถทำอะไรได้บ้าง พลัสฯ ได้รวบรวมข้อมูลมาให้อย่างละเอียดไว้ที่นี่แล้ว
รู้จักคำศัพท์ IoT (Internet of Things) คืออะไร?
IoT คือ สัญญาณเครือข่ายที่เชื่อมต่อสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน ด้วยเซ็นเซอร์ โปรแกรม หรือเทคโนโลยีอื่นๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ ระบบ ที่เชื่อมหากันติดต่อ แลกเปลี่ยน ถ่ายโอนข้อมูลกันได้ผ่านสัญญาณอินเทอร์เนต
IoT ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า M2M ย่อมาจาก Machine to Machine คือ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครื่องมือต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน
ในภาษาไทยได้บัญญัติคำศัพท์ IoT นี้เอาไว้ว่า อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ซึ่งอธิบายกันให้เข้าใจได้โดยง่ายก็คือ IoT มีความสามารถทำให้อุปกรณ์ต่างๆ สิ่งต่างๆ ได้ถูกเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทำให้มนุษย์สามารถ สั่งการ ควบคุม การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (การสั่งการเปิดไฟฟ้าภายในบ้านด้วยการเชื่อมต่ออุปกรณ์ควบคุม เช่น มือถือ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต) รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือทางการเกษตร ระบบรักษาความปลอดภัย อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆ การขนส่ง ระบบโลจิสติกส์ รวมไปถึงการควบคุมเครื่องจักรในอุตสาหกรรมใหญ่ๆ การออกแบบระบบควบคุมสิ่งต่างๆ ในธุรกิจที่หลากหลายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และอื่นๆ อีกมากมาย
เทคโนโลยี IoT มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภท RFID และ Sensors ซึ่งเปรียบเสมือนการเติมสมองให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ที่ขาดไม่คือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพื่อให้อุปกรณ์สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้
อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี IoT มีประโยชน์ในหลายด้าน แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยง เพราะหากระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไม่ดีพอ ก็อาจทำให้มีผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาขโมยข้อมูลหรือละเมิดความเป็นส่วนตัวของเราได้ ดังนั้นการพัฒนา IoT จึงจำเป็นต้องพัฒนามาตรการ และระบบรักษาความปลอดภัยไอทีควบคู่กันไปด้วย
การจัดประเภทของ IoT ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน
ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่ม IoT ออกตามตลาดการใช้งานเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1. Industrial Internet of Things หรือ IIoT
IIoT คือ การนำเครื่องจักร ระบบการวิเคราะห์ขั้นสูง และมนุษย์มาทำงานร่วมกันผ่านโครงข่ายของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร ส่งผลให้เกิดระบบที่สามารถติดตาม เก็บข้อมูล แลกเปลี่ยนและแสดงผลข้อมูลเชิงลึกที่เป็นประโยชน์
IIoT เป็นการแบ่งจาก local network ที่มีหลายเทคโนโลยีที่แตกต่างกันในโครงข่าย Sensor nodes โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะเชื่อมต่อแบบ IP network เพื่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต
โดยข้อมูลที่เชื่อมโยงกันจะสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมสามารถตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด แม่นยำ และรวดเร็วยิ่งขึ้น
2. Commercial IoT หรือ CIoT
CIoT คือ IoT ในเชิงพาณิชย์ที่มีวัตถุประสงค์สำหรับการใช้ชีวิตในแต่ละวันของผู้คน เรียกได้ว่าเป็น IoT สำหรับผู้บริโภค โดยส่วนใหญ่จะมีการใช้งานตามอาคารสำนักงาน ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้า โรงแรม สถานพยาบาล หรือสถานบันเทิง การใช้งานสำหรับสถานที่เหล่านี้มีความสามารถแตกต่างกันไป
ตั้งแต่การตรวจสอบสภาพแวดล้อมของอาคาร การจัดการตารางงานส่วนบุคคล ระบบรักษาความปลอดภัยการเข้า-ออกอาคาร ตลอดจนการควบคุมแสงสว่าง อุณหภูมิในอาคาร การติดตามทรัพย์สิน และอื่นๆ อีกมากมาย
CIoT เป็นการแบ่งจาก local communication ที่เป็น Bluetooth หรือ Ethernet (wired or wireless) โดยตัวอุปกรณ์ IoT Device ในกลุ่มนี้จะสื่อสารภายในกลุ่ม Sensor nodes เดียวกันเท่านั้นหรือเป็นแบบ local devices เพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้เชื่อมสู่อินเทอร์เน็ต
ข้อมูลที่ออกแบบสำหรับการใช้งานประเภท CIoT นี้สามารถมอบประสบการณ์ที่ดีมากยิ่งขึ้นแก่ผู้คนที่อยู่ในสถานที่ต่างๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร อาคารสำนักงาน บ้านเรือน โดยสิ่งนี้สามารถพัฒนาไปเป็น Smart Home, Smart Building, Smart City เพื่อสร้างชีวิตที่สะดวกสบายยิ่งขึ้นได้
การสร้าง IoT Platform เพื่อนำไปพัฒนา
IoT Platform นั้นมีหลากหลายให้เลือกนำไปใช้ได้ ทั้งใช้สำหรับสร้างระบบใหญ่ๆ ในองค์กร เช่น Google Cloud, Amazon แต่ Platform เหล่านี้มักใช้งานยาก และต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อีกทั้งยังใช้เวลาศึกษาเป็นเวลานาน
สำหรับ IoT Platform ที่นำมายกตัวอย่างนี้จากข้อมูลของเว็บไซต์ ifra.io ที่รวบรวม 10 อันดับ IOT Platform ประจำปี 2021 ได้รวบรวม Platform ในระดับง่ายถึงปานกลางที่สามารถนำไปพัฒนา Project ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาสั้นๆ ไว้ดังนี้
- Thingboard Thingsboard เป็น Open-source สามารถใช้งานได้ฟรีด้วย Start ใน Github ถึง 7,700 ดาว สามารถเชื่อมต่อได้หลากหลายและใช้งานง่าย
- Ubidots เป็น Web based application สามารถสร้าง Internet of Things (IoT) ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเขียนโค้ดหรือจ้างทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ ส่วนราคาเริ่มต้นนั้นสูงกว่าเจ้าอื่นพอสมควรเริ่มต้นที่ $49 แต่โดยรวม UI ใช้งานได้ง่ายมาก
- Thinger สามารถสร้างต้นแบบปรับขนาด และจัดการผลิตภัณฑ์ IoT จุดเด่นคือเป็น Open Source สามารถใช้งานได้ฟรี
- Blynk นั้นใช้งานได้ง่าย มากกว่า Platform ทั้งหมด โดยข้อดีคือสามารถคลิกลากวาง ไม่กี่ Step เหมาะสำหรับทำ Prototype เบื้องต้น ข้อเสียคือใช้ได้แค่ใน Mobile ไม่สามารถใช้งานได้บน Browsers ได้
- Thingspeak เป็น platform รวมข้อมูลในระบบคลาวด์ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงโดยใช้ MATLAB โดยด้านการวิเคราะห์ข้อมูลแบบละเอียดและแม่นยำ จะอยู่เหนือ Platform อื่นๆทั้งหมด
- IFTTT สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ไปยัง อุปกรณ์ IoT อีกเครื่องหนึ่งได้อย่างง่ายดายเช่นเชื่อมต่อมือถือหรือแจ้งเตือนเปิด APP Devices ต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย
- Netpie เป็น Platform ไทย ที่สนับสนุนโดย Nectec โดย Netpie สามารถใช้งานได้ฟรีระยะหนึ่ง สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้ง่าย และยังมี Community หลายหมื่นคนที่ช่วยกันตอบปัญหาและคำถามต่างๆ อีกด้วย
- Kaa มี Solution platform ที่เยอะมากสามารถตอบโจทย์การสร้างโปรเจค IoT ที่หลากหลาย ข้อเสียคือใช้งานยาก และมีราคาสูง เหมาะสำหรับองค์กร หรือบริษัทใหญ่ๆ ที่ต้องการตอบโจทย์ ด้าน Solution
- Particle ถึงแม้จะใช้งานได้ค่อนข้างยากแต่ราคาไม่สูงนัก เริ่มต้นที่ $2.99 และทดลองใช้งานได้ฟรี 3 เดือน ข้อเสียคือต้องเชื่อมต่อ Hardware ของ Particle เอง
- AWS IoT หากต้องการทำ IoT Project ขนาดใหญ่ ขอแนะนำ AWS IoT ที่สามารถตอบโจทย์ได้หลากหลายทุกอุตสาหกรรม และมีฟังก์ชั่น Support เยอะมาก ข้อเสียคือ ราคาค่อนข้างสูงและใช้งานยากสำหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐาน IoT และการเขียนโปรแกรม
การประยุกต์ใช้ IoT ในธุรกิจ และอุตสาหกรรม
ในยุค 5.0 นี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทั่วทุกแห่งหนแทบจะมีการนำ IoT เข้ามาประยุกต์ใช้งานงานแล้วทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้าน ระหว่างการเดินทาง อาคารสำนักงาน ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า และอีกมากมาย เรามาดูกันว่า IoT ได้นำไปประยุกต์ใช้หรือแทรกซึมอยู่กับเราในที่ใดบ้าง
Smart Device
Smart Device เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ หรือเครือข่ายไร้สายผ่านทางโปรโตคอลที่แตกต่างกัน สามารถตอบโต้ร่วมกันได้หลายชนิด โดยส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็กที่สามารถบรรจุระบบปฏิบัติการไว้ภายใน และประมวลผลได้เพียงไม่กี่กิกะไบต์
Wearables
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถติดตั้งใช้งานบนส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อความสะดวกในการใช้งานเพราะสามารถนำติดตัวไปได้ทุกที่ สามารถทำงานได้ทั้งในแบบ Stand alone หรือทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่นอย่าง Smartphone ผ่านทางแอพพลิเคชั่น วัดการตรวจจับพฤติกรรมของผู้สวมใส่แล้วแปลงค่าออกมา เช่น
- เซ็นเซอร์วัดระยะทางของการวิ่ง
- วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
- วัดอุณหภูมิรอบๆ
- บอกพิกัดตำแหน่งบนโลก
รวมทั้งยังสามารถสั่งการให้เล่นเพลงจาก Smartphone แสดงสถานะของการโทรเข้าโทรออก แจ้งเตือนเมื่อมีข้อความอีเมลล์ Facebook Twitter ผ่านอุปกรณ์ที่สวมใส่
ปัจจุบันมีการพัฒนา Wearable ออกมาเป็นรูปแบบของ Gadget ต่างๆ มากมาย ซึ่งแบ่ง ออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- Watch – Wearable Computer ประเภทนาฬิกา
- Wrist band – Wearable Computer ประเภทสายรัดข้อมือ
- Glasses – Wearable Computer ประเภทแว่นตา
VR/AR
VR ย่อมาจาก Virtual Reality คือ เทคโนโลยีที่จำลองสถานที่ขึ้นมาเป็นโลกเสมือน ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการมองเห็น โดยผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับสถานที่หรือสิ่งแวดล้อมที่จำลองขึ้นมาได้ผ่านอุปกรณ์ เช่น แป้นพิมพ์, เม้าส์ หรืออุปกรณ์ที่ทำขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่น ถุงมือ, รองเท้า เป็นต้น
VR จะไม่มีชนิดแบ่งแยกชัดเจน เนื่องจากจำเป็นต้องใช้แว่นตา, Smartphone หรือ อุปกรณ์สวมใส่เพื่อใช้ในการเข้าไปสู่โลกเสมือน แต่จะมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ช่วยให้สมจริงยิ่งขึ้น เช่น เครื่องจำลองการขยับของรถไฟเหาะจำลอง, เครื่องสร้างการสั่นสะเทือน
ตัวอย่างการนำเทคโนโลยี VR ไปใช้งาน
- Game ใช้ในการเล่นเกมส์แนว FPS (First Person Shooter) จะเป็นปืนจำลองให้ถือไปในระหว่างเล่น และ ตัวจำลองการเดินและวิ่งที่ผูกติดตัวเราไว้ คล้าย ๆ กับลู่วิ่ง
- Flight Simulator ใช้ในการจำลองการฝึกขับเครื่องบินของกัปตัน
- Skydive Simulator ใช้ในการจำลองการฝึกหัดทางทหาร เช่น การกระโดดร่ม โดยจะต้องใช้อุปกรณ์เสริมเป็นชุดกระโดดร่มจริง และ อุุปกรณ์ที่รั้งตัวให้สูงจากพื้น
- Virtual Tour ใช้ในการสวมเพื่อจำลองห้องที่มีการตกแต่งแล้ว (บริษัทอสังหาริมทรัพย์บางรายมีการใช้เทคโนโลยีนี้ในการโปรโมทโครงการใหม่เพื่อช่วยให้อ้างอิงจากสถานที่จริงได้ง่ายขึ้น)
AR ย่อมาจาก Augmented Reality คือ เทคโนโลยีที่นำวัตถุ 3 มิติ มาจำลองเข้าสู่โลกจริง โดยมีหลักการทำงานคือใช้ Sensor ในการตรวจจับภาพ, เสียง, การสัมผัส หรือ การรับกลิ่น แล้วจะสร้างภาพ 3 มิติขึ้นมาตามเงื่อนไขที่ได้รับ ด้วยการประมวลจาก Software โดยผู้ใช้งานจะต้องมองผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่แสดงภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น แว่นตา, จอภาพ, จอ Smartphone หรือ คอนแทคเลนส์ ที่เป็น Hardware
AR สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้
- Marker-Based – ใช้วิธีติดตั้งในใบปลิว แผ่นพับ หรือ วัตถุต่าง ๆ โดยผู้ใช้งานสามารถดูภาพ 3 มิติได้จากการนำกล้องของ Smartphone ไปส่องที่วัตถุนั้น เช่น กระดาษเปล่าที่เมื่อส่องด้วยกล้อง Smartphone จะเจอข้อมูลแสดงขึ้นมา
- Markerless – ผู้ใช้งานสามารถหยิบจับวัตถุมาวางในโลกจริงได้ ผ่าน Application เช่น นำเฟอร์นิเจอร์เสมือนมาวางไว้ที่ห้อง ก่อนจะไปซื้อมาใช้จริง
- Location-Based – หากนำกล้อง Smartphone ส่องไปยัง Location-Based AR จะแสดงผลข้อมูลของสถานที่นั้น ๆ อ้างอิงจาก GPS เช่น แสดงป้ายบอกทาง และ ชื่อถนน
ตัวอย่างการนำเทคโนโลยี AR ไปใช้งาน
- การดูภาพ 3 มิติ จากการเปิดกล้องใน Smart phone ใช้เป็นสื่อการสอนในโรงเรียนได้แสดงเนื้อหาประกอบในสถานที่จริงนั้น ๆ เช่น เป็นป้ายบอกทาง (ของ Google) หรือ ใช้ในธุรกิจการท่องเที่ยว ตามสถานที่ท่องเที่ยว เช่น พิพิธภัณฑ์
- ใช้กับการเล่นเกมส์ ที่เกี่ยวกับ Location เช่น Pokemon GO
- ใช้ประโยชน์ในด้านการทหาร เรื่องการซ้อมรบ
- ใช้ในงานแสดงศิลปะ โดยให้ความละเอียดที่อ้างอิงจากชิ้นงานจริงใช้ในสื่อโฆษณา ในการแสดงสินค้าต่างๆ
IP Camera (Internet Protocol Camera)
คือ กล้องวงจรปิดที่รวมเอาคุณสมบัติของ Web Server ไว้ในตัวกล้องเป็นการนำเอาความสามารถบางส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์บรรจุลงไปในตัวกล้องวงจรปิด เพื่อให้สามารถดูภาพสดบนระบบเครือข่ายได้ โดยผู้ใช้งานสามารถ ดูภาพจากระยะไกลเพื่อใช้ในการรักษาความปลอดภัย และ เฝ้าระวัง ภายใน บ้าน สำนักงาน โรงงาน ห้างสรรพสินค้า และอื่นๆ
Face Recognition
เทคโนโลยีจดจำใบหน้า คือ กระบวนการในการจดจำใบหน้า โดยนำไปเปรียบเทียบกับใบหน้าในฐานข้อมูล พร้อมวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ และเอกลักษณ์ของหน้า เช่น ตา จมูก คิ้ว ปาก โครงหน้า หรือแม้แต่ระยะห่างระหว่างอวัยวะต่าง ๆ บนใบหน้า เพื่อยืนยันว่าใบหน้าที่ตรวจจับได้ถูกต้อง และตรงกับบุคคลนั้น ๆ ตัวอย่างการใช้งานที่ใกล้ตัวที่สุดคือ การปลดล็อคสมาร์ทโฟน หรือการผ่านเข้าอาคารด้วยการสแกนหน้าแทนการใช้ Key Card
Connected Car
เป็นรถยนต์อัจฉริยะที่มีการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย ซึ่งการติดตั้งระบบเครือข่ายดังกล่าวจะช่วยให้รถยนต์สามารถเชื่อมต่อ และแบ่งปันอินเทอร์เน็ต ให้กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่อยู่ภายใน และภายนอกนอกรถยนต์ได้
เทคโนโลยี Connected car เป็นการพัฒนาต่อยอดจากแนวคิดของรถยนต์อัจฉริยะซึ่งมีการติดตั้งเทคโนโลยีพิเศษอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ขับรถทั้งในด้านความปลอดภัยและความสะดวกสบาย โดยมีการเพิ่มเติมในเรื่องของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ส่งผลให้รถยนต์ สามารถติดต่อสื่อสารกับสิ่งอื่นๆ ได้เองอัตโนมัติ
อย่างไรก็ตาม Connected car ก็ยังมีการปรับตัวที่ช้ากว่า รูปแบบอื่นเนื่องจากวงรอบในการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์จะต้องใช้เวลาประมาณ 2 - 4 ปี ทำให้มีการพูดถึงในเรื่องนี้ยังมีไม่มากนัก ในส่วนของ BMW และ Ford ก็ยังไม่ได้ประกาศออกมาเป็นรูปร่างมากนัก ถึงแม้ ทาง Google, Microsoft และ Apple ได้ประกาศเปิดตัวฟอร์มสำหรับ Connected car ไปกันบ้างแล้วก็ตาม
Connected Health
เป็นแนวคิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงชุมชนเข้ากับระบบสุขภาพแบบ ครบวงจร โดยเชื่อมโยงบริการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการบริการสุขภาพตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงผู้รับบริการปลายทางเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสถานพยาบาลทั้งในเมืองและในพื้นที่ห่างไกล ผู้ป่วย แพทย์ ร้านขายยา สถาบันวิจัย หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง บริษัทประกัน ไปจนถึงลูกจ้าง พนักงาน และบ้านเรือน
ระบบ Connected health นี้จะช่วยให้โรงพยาบาลขยายขอบเขตการประสานความร่วมมือกันได้อย่าง ครอบคลุม ทำให้ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ช่วยพัฒนาการให้บริการควบคู่ไปกับการควบคุมค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังช่วยเชื่อมโยงบุคลากรทางการแพทย์ถึงกัน และเชื่อมโยงแพทย์เข้ากับข้อมูลสำคัญต่างๆ ช่วยให้ แพทย์สามารถหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดและให้คำแนะนาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ผู้ป่วยมีบทบาทในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหรือดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น
แนวคิดของระบบ Connected health, Digital health หรือSmart medical ยังไม่ได้เป็นที่ แพร่หลายมากนักซึ่งทางผู้พัฒนาก็ได้ปล่อยตัวระบบและอุปกรณ์มาให้ใช้งานบ้างแล้ว เช่น CellScope หรือ Swaive
สำหรับในประเทศไทยทางโรงพยาบาลสมิติเวชและบีเอ็นเอช ในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพฯ ได้ร่วมมือ กันคิดค้นแอพพลิเคชั่นชื่อว่า Samitivej Connect by TrueMove H และ BNH Connect by TrueMove H เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสื่อสารกับโรงพยาบาลได้ทันท่วงที โดยมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นตารางการ นัดแพทย์ การส่งรถพยาบาลมาเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ปรึกษาปัญหาสุขภาพทั่วไป เสมือนได้รับการดูแลจาก โรงพยาบาลตลอดเวลาในแบบที่เป็นส่วนตัว ถือว่าเป็นมิติใหม่ของการให้บริการทางการแพทย์ในยุคดิจิตอล โดย นำเทคโนโลยีทางด้านไอทีมาเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลเพื่อให้บริการแบบไร้ข้อจำกัด
Smart City
เมืองอัจฉริยะ หมายถึง เมืองที่มีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อทำให้ คุณภาพชีวิตของพลเมืองนั้นดีขึ้น ส่งผลให้การใช้ชีวิตนั้นสะดวกสบายพลเมืองสามารถเข้าถึงการบริการของ เมืองนั้นได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้นด้วย ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน เช่น การจัดการพลังงานไฟฟ้า ระบบจัดการน้ำ จัดการขยะ ระบบตรวจจับและเฝ้าระวังความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อมในสังคม เป็นต้น
Smart Home
หรือบ้านอัจฉริยะ เป็นการรวมโครงข่ายการสื่อสาร (Communication Network) ของที่อยู่อาศัยรวมเข้าด้วยกันเพื่อเชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า การบริการการตรวจตราดูแล รวมทั้งสามารถเข้าถึงการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ได้ ซึ่งการควบคุมอาจควบคุมได้ทั้งจากภายในที่บ้านเอง หรือควบคุมจากภายนอกผ่าน Smart Phone ก็ได้
โครงสร้างของ Smart home จะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
- อุปกรณ์ Smart Device ใช้สำหรับเชื่อมโยง
- เครือข่าย Smart home network
- ส่วนควบคุมหลักที่เปรียบเสมือนสมองของบ้าน ซึ่งสามารถเขียนโปรแกรมให้บ้านทำงาน ตามแบบที่เราต้องการได้เรียกว่า Intelligent control system
ประโยชน์ของการติดตั้ง Smart Home
- เพิ่มความสะดวกสบาย เช่น ประตูอัตโนมัติ รีโมทอัจฉริยะ
- เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพิ่มความสามารถให้กับกล้องวงจรปิด นอกเหนือจากการบันทึกภาพเพียงอย่างเดียว เช่น เซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว และระบบการแจ้งเตือน
- เพื่อประหยัดพลังงาน เช่น การเปิดปิดไฟอัตโนมัติตามแสงอาทิตย์ หรือปิดไฟอัตโนมัติเมื่อไม่มีคนอยู่ รวมไปถึงการบริหารจัดการพลังงานในกรณีที่ติดตั้งแผงวงจรโซลาร์เซลล์
- เพื่อดูแลสุขภาพของผู้อาศัยภายในบ้าน เช่น จะติดตั้งเซนเซอร์ตรวจคลื่นหัวใจ ตรวจจับไฟไหม้โดยส่งสัญญาณ เมื่อเวลาเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ
Smart Grid
หรือโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ เป็นโครงข่ายไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาบริหารจัดการควบคุมการผลิต ส่งและจ่ายพลังงานไฟฟ้า สามารถรองรับการเชื่อมต่อระบบ ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกที่สะอาด (Distributed Energy Resource : DER) และระบบบริหารการใช้สินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
รวมทั้งให้บริการกับผู้เชื่อมต่อกับโครงข่ายผ่านมิเตอร์อัจฉริยะได้อย่างมี ประสิทธิภาพ มีความมั่นคงปลอดภัยเชื่อถือได้ พร้อมทั้งคุณภาพของไฟฟ้าได้มาตรฐานสากล Smart grid เกิดจากการเชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ระบบสารสนเทศ และระบบสื่อสารเข้าไว้ด้วยกันเป็น โครงข่าย ซึ่งโครงข่ายดังกล่าวจะสนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีสำคัญ 3 ด้าน ได้แก่
- อิเล็กทรอนิกส์และระบบฝังตัว (Electronics and Embedded Systems)
- ระบบควบคุมอัตโนมัติ (System Control and Automation)
- สารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication)
Smart Farming
หรือฟาร์มอัจฉริยะ คือ การนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานเข้ากับงานด้านการเกษตรเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับเกษตรกร เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะนั้นตั้งอยู่บนแนวคิด ของการทำเกษตรสมัยใหม่ที่เรียกว่า เกษตรแม่นยำสูง เป็นกลยุทธ์ในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทำให้เกษตรกรสามารถปรับการใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่มากที่สุด รวมไปถึงเรื่องการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งแนวคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งฟาร์มพืชและสัตว์ ฟาร์มอัจฉริยะนี้จะมีความแตกต่าง กับฟาร์มธรรมดาอยู่ตรงที่ การใช้ทรัพยากรนั้นทำได้อย่างแม่นยำและตรงต่อความต้องการของพืชและสัตว์ ซึ่ง ช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรและได้ผลผลิตที่ออกมาตรงตามความต้องการของผู้ดูแลมากที่สุด ผ่านการเชื่อมโยงข้อมูงโดย IoT
Smart Retail
เป็นการนำเทคโนโลยต่างๆ เข้ามาช่วยเพิ่มโอกาสในการดำเนินธุรกิจห้างร้านได้เป็นอย่างดี ด้วยการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีสำหรับลูกค้าในการซื้อสินค้า โดยส่งข้อมูลสินค้าไปยังอุปกรณ์ Smart Phone ของลูกค้าส่งผลให้ธุรกิจห้างร้านมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ในบางประเทศสามารถ Shopping โดยไม่ต้องเข้าคิวขำระเงินผ่านเคาน์เตอร์อีกต่อไป เพียงแค่เข็นรถเข็นออกจากร้านระบบก็จะหักเงินอัตโนมัติผ่านช่องทางที่ได้ตั้งค่าไว้
Smart Supply Chain
หรือการจัดการห่วงโซ่อุปทาน หมายถึง การจัดการในส่วนของกระบวนการที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิตกับผู้ขายวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิตอันนำไปสู่การเพิ่มผลกำไรของกิจการได้ในที่สุด โดยกระบวนการจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอน
- การจัดซื้อ (Procurement)
- การผลิต (Manufacturing)
- การจัดเก็บ (Storage)
- เทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology)
- การจัดจำหน่าย (Distribution)
- การขนส่ง (Transportation)
ซึ่งมีผลสำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้านอกจากนี้ Smart Supply Chain ไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะหน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรเท่านั้น แต่ที่สำคัญจะสร้างความสัมพันธ์เชื่อมต่อกับองค์กรอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ผู้จัดหาวัตถุดิบ/สินค้า (Suppliers) บริษัทผู้ผลิต (Manufactures) บริษัทผู้จำหน่าย (Distribution) รวมถึงลูกค้าของบริษัท
จึงเป็นการเชื่อมโยงกระบวนการดำเนินธุรกิจทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องด้วยกันเป็นห่วงโซ่หรือเครือข่ายให้เกิดการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในกระบวนการต่างๆ นั้นจะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ ทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
LIV-24 นวัตกรรมเทคโนโลยีด้านการดูแลความปลอดภัยและจัดการระบบวิศวกรรมอาคารเต็มรูปแบบ เรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมง แห่งแรกของวงการอสังหาฯ
LIV-24 มีเทคโนโลยีอะไร มีความสามารถมากขนาดไหน ทำไมต้องมี? ถ้ามีแล้วจะสามารถยับยั้งเหตุการณ์ได้ แถมยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวสำหรับระบบวิศวกรรมอาคารได้จริงหรือ? มารู้จักฟีเจอร์การทำงานจากเทคโนโลยีสุดล้ำในแต่ละตัวกัน
CCTV ANALYTICS
ระบบอัจฉริยะ เฝ้าระวัง ป้องกันก่อนเกิดเหตุ ตรวจจับการเคลื่อนไหว 24/7 ด้วยกล้อง CCTV ที่เชื่อมต่อกับเทคโนโลยี LIV-24 ระบบจะสามารถตรวจจับความเคลื่อนไหวอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต หรือ ควันไฟ สามารถตรวจจับได้ แม้แต่ในจุดอับที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ช่วยให้สามารถป้องกันก่อนเกิดเหตุได้
REAL-TIMR GUARD TOUR
เครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพของ รปภ.ดูแลลูกบ้าน ให้ ระงับเหตุ ได้ทันท่วงที ระบบนี้จะช่วยตรวจสอบสถานะการเดินตรวจตราตามจุดต่างๆของ รปภ. เพื่อให้แน่ใจว่าลูกบ้านจะได้รับการดูแลความปลอดภัย และให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงทีตลอด 24 ชม.
DIGITAL FENCE
ระบบป้องกันแนวรั้วรอบโครงการแจ้งเตือนแบบ REAL-TIME ป้องกันการถูกบุกรุก ที่มีความสามารถพิเศษตรวจจับการเคลื่อนไหวแนวรั้ว ทั้งคน สัตว์ สิ่งแปลกปลอม แจ้งเตือนแบบ Real-Time เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบได้ทันท่วงที ป้องกันความเสี่ยงจากการถูกบุกรุก
VISITOR MANAGEMENT SYSTEM
ระบบควบคุมการเข้า-ออกโครงการ บันทึก ตรวจสอบ ข้อมูลบุคคล และยานพาหนะ ได้รัดกุม ให้คุณต้อนรับเพื่อนได้ล้ำกว่าใคร ด้วยระบบการลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนเข้าโครงการ การบันทึกข้อมูล ผู้เข้าออก อ่านป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติ สามารถตรวจสอบข้อมูลการเข้าออกโครงการได้อย่างรัดกุม
PREVENTIVE MAINTENANCE
ทำงานเชิงป้องกันดูแลเสถียรภาพของระบบสาธารณูปโภคให้พร้อมใช้งาน LIV-24 จะมีระบบตรวจสอบระยะเวลาการใช้งาน และตรวจสอบรอบเวลาการซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโครงการร่วมกับวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ เก็บบันทึกค่าการใช้งานของเครืองจักรได้แม่นยำ เพื่อประเมินการซ่อมบำรุง
FIRE ALARM
แจ้งเตือนอัคคีภัยประสานงานไปยังโครงการได้แบบ REAL-TIME เมื่อพบสัญญาณแจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย ระบบจะมีการแจ้งเตือนไปยัง LIV-24 ทีมงานจะตรวจสอบและประสานไปยังโครงการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งตำรวจ สถานีดับเพลิง ช่วยระงับเหตุได้อย่างทันท่วงที
BUILDING ENGINEERING SYSTEM
ระบบแจ้งเตือนเหตุขัดข้อง ระบบวิศวกรรมในอาคาร เช่น ปั้มน้ำไม่ทำงาน ไฟฟ้าดับ ลิฟต์ค้าง
SMERT METER (WATER / ELECTRICITY)
ระบบแจ้งเตือนเมื่อเกิดน้ำรั่ว มีอัตราการไหลของน้ำผิดปกติ และ แจ้งเตือนเมื่อมีแรงดันไฟฟ้าสูง หรือต่ำกว่าปกติ (ไฟรั่ว, ไฟเกิน)
LIV-24 บริการเทคโนโลยี ระบบสังเกตการณ์อัจฉริยะ เป็นเทคโนโลยีหนึ่งเดียวในไทยที่มีศูนย์ควบคุมฯ บริการครบวงจร ทำงานแบบไร้รอยต่อ เมื่อเกิดเหตุ ระบบจะประสานผู้เชี่ยวชาญเข้าระงับเหตุและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว สนใจรายละเอียดการติดตั้ง LIV-24 ในโครงการของคุณ 02 688 7555 หรือ plus.co.th/liv24